รายละเอียดกฎหมายน่ารู้

ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ /ในกรณีเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง /เป็นผู้ที่ได้รับการมอบหมายหรือมอบอำนาจ ให้ใช้อำนาจทางปกครอง

การมอบหมาย ????ผู้ที่ได้รับมอบหมาย สามารถใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจและใช้อำนาจในนามตนเองภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ของการมอบหมายนั้น ๆ หรือตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ????เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยตนเอง ????ไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการแทน หรือทำแทนผู้ที่มอบหมาย ????ไม่ใช่เรื่องการมอบอำนาจให้ผู้ใดผู้หนึ่งมีอำนาจกระทำการแทน และไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายเกี่ยวกับระเบียบบริหารราชการ ????ดังนั้น หากผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองได้ออกคำสั่งทางปกครองเรื่องใด ผู้ใดจะเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์นั้น ย่อมต้องพิจารณาจากตำแหน่งของผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง เป็นสำคัญ (บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 74/2554 เรื่องเสร็จที่ 346/2556 เรื่องเสร็จที่ 753/2563) ????#การมอบอำนาจ ????เป็นไปตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ.2550 หรือกฎหมายจัดตั้งองค์กร ????การสั่งการของผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ทรงอำนาจ ไม่ถือว่าเป็นการสั่งการหรือการออกคำสั่งของผู้รับมอบอำนาจนั้นในฐานะของตนเอง หากแต่เป็นการสั่งการหรือการออกคำสั่งของผู้ที่ได้รับมอบอำนาจในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้มอบอำนาจหรือผู้ทรงอำนาจนั้นเอง ????ดังนั้น หากผู้ที่ได้รับมอบอำนาจนั้น ได้ใช้อำนาจทางปกครองออกคำสั่งทางปกครองเรื่องใด การใช้อำนาจดังกล่าวย่อมเป็นการกระทำในฐานะของผู้ทรงอำนาจ และผู้ใดจะเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ ย่อมต้องพิจารณาจากตำแหน่งของผู้มอบอำนาจหรือผู้ทรงอำนาจ เป็นสำคัญ (บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 97/2545 เรื่องเสร็จที่ 806/2550) ????การมอบอำนาจในการพิจารณาอุทธรณ์ ????หากไม่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนดเรื่องการมอบอำนาจในการพิจาณาอุทธรณ์ไว้เป็นอย่างอื่น หรือห้ามมิให้มีการมอบอำนาจในเรื่องดังกล่าว ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์สามารถมอบอำนาจให้ข้าราชการในสังกัดเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์แทนได้ ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงขีดความสามารถและความรับผิดชอบของผู้รับมอบอำนาจ รวมตลอดทั้งการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ความรวดเร็ว และการลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการ ประสิทธิภาพ และความประหยัด และการสร้างความมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ (บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 769/2546 เรื่องเสร็จที่ 806/2550) ????ในกรณีที่กฎหมายกำหนดผู้มีอำนาจวินิจฉัยหรือพิจารณาอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่สามารถมอบอำนาจการวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ เนื่องจากกระบวนการในการอุทธรณ์ถูกกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการกลั่นกรองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อความเป็นธรรมอีกชั้นหนึ่ง การวินิจฉัยข้อพิพาทนี้จึงต้องกระทำโดยบุคคลที่กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้ใช้อำนาจนั้น จึงมิใช่เป็นเรื่องการปฏิบัติราชการโดยทั่วไปที่จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน แต่เป็นอำนาจเฉพาะตัว (บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 285/2552) ????กระบวนการในการอุทธรณ์นั้นกำหนดขึ้นก็เพื่อประโยชน์ในการเยียวยาความเดือดร้อนของบุคคลซึ่งได้รับอันเนื่องมาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อกฎหมายกำหนดให้ผู้ที่ได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งไม่พอใจคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีและให้คำสั่งของรัฐมนตรีเป็นที่สุดด้วย บทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ดังกล่าวนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ผู้มีอำนาจพิจารณาและออกคำสั่งเกี่ยวกับการอุทธรณ์ต้องเป็นผู้ที่มีสถานะและมีอำนาจหน้าที่ที่จะเยียวยาความเดือดร้อนของบุคคล เนื่องจากคำสั่งของผู้ที่มีสถานะและอำนาจหน้าที่ดังกล่าวต้องเป็นที่ยุติและเป็นที่สุดในฝ่ายบริหาร ด้วยเหตุนี้ อำนาจในการพิจารณาและออกคำสั่งเกี่ยวกับการอุทธรณ์ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเฉพาะดังกล่าว จึงมิใช่อำนาจในการปฏิบัติราชการโดยทั่วไป แต่มีลักษณะเป็นอำนาจโดยเฉพาะของรัฐมนตรีที่ไม่อาจมอบอำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้ หากกฎหมายประสงค์จะให้มีการมอบอำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นได้ก็จะต้องบัญญัติไว้โดยชัดเจน (บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 129/2550)

ย้อนกลับ