รายละเอียดกฎหมายน่ารู้

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย - เรื่อง ร้องสอด (ข้อ ๗๘)

๑. การร้องสอดแบ่งเป็น ๒ กรณี ได้แก่ (๑) การร้องสอดด้วยความสมัครใจ (เป็นคำฟ้อง) ได้แก่ ๑. การร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ๒. การร้องสอดเข้าเป็นผู้ฟ้องคดีร่วมหรือผู้ถูกฟ้องคดีร่วมหรือเข้าแทนที่ผู้ฟ้องคดี (๒) การร้องสอดเพราะถูกหมายเรียกเข้ามาในคดี ได้แก่ ๑. คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอให้ศาลหมายเรียกเข้ามา ๒. กรณีที่ศาลเห็นสมควรเรียกเข้ามาในคดี ๓. กรณีศาลเรียกเข้ามาเองเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม (อ. ชาญชัย น. ๓๓๙)
๒. การที่ศาลมีคำสั่งเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นผู้ถูกฟ้องคดีภายหลังวันยื่นฟ้องคดี ผู้ถูกคำสั่งเรียกอ้างว่าวันที่ศาลมีคำสั่งเรียกคดีขาดอายุความไปแล้วตามม. ๕๑ ศาลพิพากษาว่า ให้ถือว่าศาลมีคำสั่งเรียกในวันยื่นฟ้องคดีนั้น (คพ.อ. ๘๔/๕๐)
๓. การร้องสอดเป็นคำฟ้อง (ปวิพ. ม. ๕๗ (๑) และ (๒)) ดังนั้นจึงต้องพิจารณาอำนาจศาล และเงื่อนไขการฟ้องคดีด้วย เช่น หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่หลายคนชดใช้ตามมาตรา ๑๒ พรบ. ละเมิดฯ มีบางคนอุทธรณ์แล้วนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง แต่มีบางคนไม่อุทธรณ์ คนที่ไม่อุทธรณ์จะร้องสอดเข้ามาเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งไม่ได้ เพราะมิได้ดำเนินการตามขั้นตอน ม. ๔๒ วรรคสอง (คส. ๖๔๒/๕๒)
๔. แม้บุคคลภายนอกจะไม่ใช่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐก็ตาม (คดีที่ศาลเรียกสภาองค์กรนายจ้างเข้ามาเป็นผู้ถูกฟ้องคดีตามคำขอของกระทรวงแรงงาน (คพ.ศาลปกครองกลาง ๑๒๘/๔๔) (อ. ฤทัย น. ๑๘๐)
๕. ต้องมีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล (คส. ๘๙/๕๔) และร้องสอดได้เฉพาะศาลปกครองชั้นต้นเท่านั้น จะร้องสอดเข้ามาในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้ (คพ.อ. ๘๙/๔๕)
๖. ผู้ร้องสอดต้องมีสิทธิใด ๆ ตามกฎหมายหรือมีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี (ปวิพ. ๕๗ (๒)) ดูคดี ป.ป.ช. ร้องสอดคดีอบรมหลักสูตรนายอำเภอ ศาลตัดสินว่า ป.ป.ช. ไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี (คส.คบ. ๖๖/๖๑)
๗. กรณีผู้ฟ้องคดีฟ้องไม่ถูกตัว ศาลปกครองชั้นต้นชอบที่จะกำหนดตัวผู้ถูกฟ้องคดีให้ถูกต้องได้ โดยการเรียกให้เข้ามาเป็นผู้ถูกฟ้องคดีแทนตาม ปวิพ. ม. ๕๗ วรรคหนึ่ง (๓) (ข) (คส. ๕๗๕/๕๑, ๖๓๒/๕๑) การกำหนดตัวผู้ถูกฟ้องคดีบางรายให้ถูกต้องไม่ถือเป็นคำสั่งไม่รับคำฟ้องตามข้อ ๔๙/๑ (คส. ๖๖๓/๕๙) แต่มีคดี คส. ๕๘๙/๕๔ ผู้ฟ้องคดีฟ้องประธานกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดกาฬสินธุ์ละเลยต่อหน้าที่ แต่ที่ถูกคือต้องฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ศาลไม่มีอำนาจเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์เข้ามาเป็นผู้ถูกฟ้องคดีได้ เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะเรียกเข้ามาเป็นผู้ถูกฟ้องคดีตามข้อ ๗๘
๘. คำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของ อบจ. แต่มิได้ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย ทั้ง ๆ ที่บรรยายไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์มาในคำฟ้อง ศาลมีอำนาจเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาเป็นคู่กรณีด้วยการร้องสอดได้ตามข้อ ๗๘ (คส. ๒๔๐/๕๘ (ญ))
๙. การที่คู่กรณีมีคำขอต้องทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลแสดงเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ไม่ใช่ขอมาในคำให้การ (คส. ๔๖๗/๔๕)
๑๐. สิทธิการฟ้องคดีของผู้ร้องสอดย่อมมีไม่มากไปกว่าสิทธิของคู่กรณีฝ่ายที่ตนสมัครใจเข้ามาเป็นคู่กรณีร่วม เมื่อผู้ฟ้องคดีไม่มีสิทธิฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีแล้ว ผู้ร้องสอดเข้าเป็นคู่กรณีร่วมกับผู้ฟ้องคดีย่อมไม่มีสิทธิฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีเช่นกัน (คพ.ฟ. ๑๗/๕๑)

ขอบคุณที่มา : เตรียมสอบตุลาการศาลปกครอง

ย้อนกลับ